วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน

          วุฒิศักดิ์ บุญแน่น (ม.ป.ป.) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า แบ่งเป็น 21 วิธีการสอน
                 1. วิธีสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)
                 2. วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
                 3. วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ  (Role Playing)
                 4. วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง  (Case)
                 5. วิธีการสอนโดยใช้เกม  (Game)
                 6. วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง  (Simulation)
                 7. วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
                 8. การสอนแบบค้นพบความรู้
                 9. วิธีการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model)
               10. การสอนแบบปฏิบัติการ
               11. การสอนโดยใช้โสตทัศนูปกรณ์
               12. การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้นเรียน
               13. การสอนโดยใช้คำถาม
               14. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก  ( graphic  organizers )  
               15. การสอนแบบโครงการ (The Project Approach)
               16. การสอนแบบมอนเตสซอรี่
               17. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
               18. นวัตกรรมกระบวนการกลุ่มแบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
               19. การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
               20. วิธีสอนแบบขั้นทั้ง ของอริยสัจสี่   (ดรสาโรช บัวศรี)
               21. การจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ (Experiential Learning )


          Sandaytutor (2554) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า แบ่งเป็น 12 วิธีการสอน
                 1. เทคนิคการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co – operative Leanning ) 
                 2. เทคนิคการสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method ) 
                 3. เทคนิคการสอนแบบนิรนัย ( Deductive Method )  
                 4. เทคนิคการสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming ) 
                 5. วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice ) 
                 6. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ( Simulation ) 
                 7. วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method ) 
                 8. วิธีสอนแบบโครงการ ( Project Method ) 
                 9. เทคนิคการอภิปรายแบบอ่างปลา 
               10. วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง 
               11. วิธีสอนโดยใช้เกม 
               12. การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map ) 
               13. การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 


          ประภัสรา โคตะขุน (2559) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า แบ่งเป็น 54 วิธีการสอน
                 1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)
                 2. วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
                 3. วิธีสอนแบบโครงงาน(Project Method)
                 4. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
                 5. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
                 6. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method)
                 7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction  Method)
                 8. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา
                 9. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล
               10. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ
               11. การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking)
               12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry  Process)
               13. วิธีสอนแบบอุปนัย (Inductive Method)
               14. วิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method) 
               15. วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
               16. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน 
               17. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)
               18. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
               19. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method)
               20. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
               21. วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method) 
               22. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method)
               23. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
               24. วิธีสอนตามคาดหวัง (Expectation Method)
               25. วิธีสอนแบบโซเครติส (Socretis Method) 
               26. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส ( Method of Sense Realism)
               27. วิธีสอนด้วยสิ่งของหรือวัตถุ
               28. วิธีสอนแบบกิจกรรม (Self-Activity Method) 
               29. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
               30. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดยสาโรช บัวศรี
               31. วิธีสอนแบบโครงการ (Project Method)
               32. วิธีสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan)
               33. วิธีสอนแบบวินเนทก้า (The Winnetka Plan)
               34. วิธีสอนแบบนิเทศ (Supervised Plan)
               35. วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง (Tutorial Method)
               36. วิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ  (Audio-Visual Meterial of Instruction Method)
               37. วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method)
               38. วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
               39. วิธีสอนแบบอริยสัจ
               40. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มระดมพลังสมอง
               41. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
               42. วิธีสอนแบบสาธิต
               43. วิธีการสอนแบบทดลอง
               44. การสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction)
               45. การสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
               46. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ แอล.ที. ( L.T )
               47. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )
               48. การเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD )
               49. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )
               50. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
               51. การสอนแบบเอกัตภาพ ( Individualized Instruction )
               52. การสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา(Content – Based Instruction)
               53. การสอนแบบวิธีธรรมชาติ ( Natural Method )
               54. การสอนแบบชุมชนเป็นฐาน


       สรุป
                 จากการที่ผมได้ไปศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนมานั้น ปรากฎว่า พบรูปแบบทั้งหมด 69 รูปแบบ ดังนี้
                        1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)
                        2. วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา                        

                        3. วิธีสอนแบบโครงงาน(Project Method)
                        4. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน                        
                        5. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
                        6. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method)
                        7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction  Method)
                        8. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา
                        9. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล
                      10. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ
                      11. การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking)
                      12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry  Process)
                      13. วิธีสอนแบบอุปนัย (Inductive Method)
                      14. วิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method) 
                      15. วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
                      16. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน 
                      17. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)
                      18. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
                      19. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method)
                      20. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
                      21. วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method) 
                      22. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method)
                      23. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
                      24. วิธีสอนตามคาดหวัง (Expectation Method)
                      25. วิธีสอนแบบโซเครติส (Socretis Method) 
                      26. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส ( Method of Sense Realism)
                      27. วิธีสอนด้วยสิ่งของหรือวัตถุ
                      28. วิธีสอนแบบกิจกรรม (Self-Activity Method) 
                      29. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
                      30. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดยสาโรช บัวศรี
                      31. วิธีสอนแบบโครงการ (Project Method)
                      32. วิธีสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan)
                      33. วิธีสอนแบบวินเนทก้า (The Winnetka Plan)
                      34. วิธีสอนแบบนิเทศ (Supervised Plan)
                      35. วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง (Tutorial Method)
                      36. วิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ  (Audio-Visual Meterial of Instruction Method)
                      37. วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method)
                      38. วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
                      39. วิธีสอนแบบอริยสัจ
                      40. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มระดมพลังสมอง
                      41. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
                      42. วิธีสอนแบบสาธิต
                      43. วิธีการสอนแบบทดลอง
                      44. การสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction)
                      45. การสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
                      46. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ แอล.ที. ( L.T )
                      47. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )
                      48. การเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD )
                      49. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )
                      50. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ 
                      51. การสอนแบบเอกัตภาพ ( Individualized Instruction )
                      52. การสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา(Content – Based Instruction)
                      53. การสอนแบบวิธีธรรมชาติ ( Natural Method )
                      54. การสอนแบบชุมชนเป็นฐาน
                      55. วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
                      56. วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (Case)
                      57. วิธีการสอนโดยใช้เกม  (Game)
                      58. วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง  (Simulation)
                      59. วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
                      60. วิธีการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model)
                      61. การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้นเรียน
                      62. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก  ( graphic  organizers )  
                      63. การสอนแบบมอนเตสซอรี่
                      64. นวัตกรรมกระบวนการกลุ่มแบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
                      65. การจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ (Experiential Learning )
                      66. เทคนิคการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co – operative Leanning ) 
                      67. วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice ) 
                      68. เทคนิคการอภิปรายแบบอ่างปลา 
                      69. การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map ) 

ที่มา
วุฒิศักดิ์ บุญแน่น. (ม.ป.ป.). https://sites.google.com/site/acadedmsu/xeksar-fay-wichakar[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2561.
Sandaytutor. (2554). http://sundaytutor.blogspot.com/2011/08/blog-post_31.html[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2561.
ประภัสรา โคตะขุน. (2559). https://sites.google.com/site/prapasara/15-1[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2561.
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

          สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า
               ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว


          ทิศนา แขมมณี (2554:98-102) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า 
               ก.ทฤษฎีการเรียนรู้
                          คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้คือ สลาวิน ( Slavin ) เดวิด จอห์นสัน ( David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน ( Roger Johnson ) เขากล่าวว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้ง ๆ ที่มีผลการวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของผู้เรียนต่อตนเอง ต่อโรงเรียน ครูและเพื่อนร่วมชั้น มีผลต่อการเรียนมาก จอห์นสัน และจอห์นสัน ( Johnson and Johnson , 1994 : 31 – 32 ) กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี ลักษณะคือ
       1.ลักษณะแข่งขันกัน
       2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน
       3.ลักษณะร่วมมือกัน หรือ ช่วยกันในการเรียนรู้
  องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
       1.การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน ( positive interdependence )
       2.การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ( face-to-face promotive interaction )
       3.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน ( individual accountability )
       4.การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย ( interpersonal and small-group skills)
       5.การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม ( group processing )

  ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
       1.มีความพยายามจะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
       2.มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
       3.มีสุขภาพจิตดีขึ้น
  ประเภทของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
       1.กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ ( formal cooperative learning groups )
       2.กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ( informal cooperative learning groups )
       3.กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร( cooperative base groups )

   ข.การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
  1.ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน
 1.1 กำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนทั้งทางด้านความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ
 1.2 กำหนดขนาดของกลุ่ม กลุ่มควรมีขนาดเล็กประมาณ 3 – 6 คน กลุ่มขนาด คนจะเป็น
ขนาดที่เหมาะสมที่สุด
 1.3 กำหนดองค์ประกอบของกลุ่ม โดนทั่วไปกลุ่มจะต้องประกอบไปด้วยสมาชิกที่คละกัน
ในด้านต่าง ๆ เช่น เพศ ความสามารถ ความถนัด เป็นต้น
 1.4 กำหนดบทบาทของสมาชิกแต่ละตนในกลุ่ม
 1.5 จัดสถานที่ให้เหมาะสมในการทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์กัน
 1.6 จัดสาระ วัสดุ หรืองานที่จะให้ผู้เรียนทำ วิเคราะห์สาระ/งาน/หรือวัสดุที่จะให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้
  2.ด้านการสอน
 ครูควรมีการเตรียมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้
      2.1 อธิบายชี้แจงเกี่ยวกับงานของกลุ่ม
      2.2 อธิบายเกณฑ์การประเมินผลงาน
      2.3 อธิบายถึงความสำคัญและวิธีการของการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
      2.4 อธิบายวิธีการช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม
      2.5 อธิบายถึงความสำคัญและวิธีการในการตรวจสอบความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย
      2.6 ชี้แจงพฤติกรรมที่คาดหวัง
  3.ด้านการควบคุมกำกับและช่วยเหลือกลุ่ม
 3.1 ดูแลให้สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
 3.2 สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม
 3.3 เข้าไปช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม
 3.4 สรุปการเรียนรู้
  4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
 4.1 ประเมินผลการเรียน ครูประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและ
คุณภาพ
 4.2 วิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้แบบร่วมมือทั้ง
รูปแบบดังกล่าวมีคุณสมบัติสำคัญตรงกัน ประการ คือ ทุกรูปแบบต่างก็มีกระบวนการเรียนรู้ที่พึ่งพาและเกื้อกูลกัน สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือและปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และสามารถตรวจสอบได้ สมาชิกกลุ่มต้องใช้ทักษะการทำงานกลุ่มและการสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานร่วมกัน

          รังสิมา วงษ์ตระกูล (2553ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือกันหรือการร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย จึงถือได้ว่าการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนักการศึกษาที่สำคัญในวงการศึกษาได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้

               จอห์นสัน และจอห์นสัน ได้ให้ความรู้ของการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า  การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่มผู้เรียนซึ่งต้องการการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน(ล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จร่วมกัน),ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน,การใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(การติดต่อสื่อสาร,ความเชื่อมั่น,ความเป็นผู้นำ,การตัดสินใจ,การลดความขัดแย้ง),การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด,และกระบวนการ(สิ่งที่สะท้อนกลับคือประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอย่างไรและดีขึ้นมากแค่ไหน(Johnson และ Johnson. Online.  2009)
                นอกจากของจอห์นสัน  ยังมีนักการศึกษาของไทยเราได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้อีกเช่น ของอาจารย์สุวิทย์ และอาจารย์อรทัย มูลคำได้ให้ความหมายไว้ว่า       การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง กระบวนการการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
                จากความหมายข้างต้นของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสามารถจะสรุปได้ว่า  การเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ตามความสามารถของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน และการใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จร่วมกันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

       สรุป
                 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) มีแนวคิด คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ จอห์นสัน และจอห์นสัน ( Johnson and Johnson , 1994 : 31 – 32 ) กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี ลักษณะคือ
       1.ลักษณะแข่งขันกัน
       2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน
       3.ลักษณะร่วมมือกัน หรือ ช่วยกันในการเรียนรู้

ที่มา
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2561.
ทิศนา  แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รังสิมา วงษ์ตระกูล. (2553). https://www.gotoknow.org/posts/401180[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2561.




ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

          สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า
               ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน


          ชุติมา   สดเจริญ (2556ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า
               หลักการ
                    การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะได้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรม การสร้างความรู้ในตนเองของผู้เรียน เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา  ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน มีความคงทน ไม่ลืมง่าย และและสามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น จะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
   
   การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
       1.  การใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง
       2.  การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ

https://www.gotoknow.org/posts/547007

          ทิศนา แขมมณี (2554:96-98 ) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า
               ก.ทฤษฎีการเรียนรู้
                    เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ( Piaget ) ผู้พัฒนาทฤษฎีคือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ท ( Seymour Papert ) แนวความคิดของทฤษฎีคือ ( สำนักงานโครงการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ , 2542 : 1  2 ) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก ก็หมายถึงการสร้างความรู้ในตนเองนั่นเอง
               
               ข.การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
                    เพเพอร์ทและคณะวิจัยแห่ง M.I.T ( บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ ในวชิราวุธวิทยาลัย , 2541 : 1  7 ) ได้ออกแบบวัสดุและการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี รวมทั้งได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความรู้ในการเรียนวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
                    อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เรียนที่ยังไม่มีสื่อดังกล่าวใช้ เพเพอร์ทกล่าวว่า สื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะส่วนมากสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างความรู้ได้ดีเช่นกัน แม้ว่าผู้เรียนจะมีวัสดุที่เมาะสมสำหรับการสร้างความรู้ได้ดีแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้ที่ดี สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญมากอีกประการหนึ่งก็คือ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งควรมีส่วนประกอบ 3 ประการคือ
                         1.เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลาย การมีทางเลือกที่หลากหลายหรือการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำในสิ่งที่สนใจจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิดการทำและการเรียนรู้ต่อไป
                         2.เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้ ซึ่งจะเอื้อให้มีการช่วยเหลือกันและกัน การสร้างสรรค์ผลงานและความรู้ รวมทั้งการพัฒนาทักษะทางสังคมด้วย
                         3.เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร เป็นกันเอง บรรยากาศที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สบายใจ จะเอื้อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความสุข
               ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ( Constructionism ) นี้ มีผู้นำมาใช้ในประเทศไทยเมื่อไม่นานนี้ บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่เป็นผู้นำแนวคิดนี้มาใช้อย่างจริงจังเป็นรูปธรรม ก็คือ ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์ สมุทวณิช ( วชิราวุธวิทยาลัย , 2541 : ก, 8  13 ) ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ท่านให้ชื่อทฤษฎีนี้ไว้หลายชื่อ เช่น ทฤษฎี  คิดเอง - ทำเอง  และ  ทำไป - เรียนไป

       สรุป
                 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) มีแนวคิด คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

ที่มา
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2561.
ชุติมา   สดเจริญ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/547007[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2561.
ทิศนา  แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์           kamonwan  (2558) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ว่า                สื่อการสอน ...