วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

          สยุมพร ศรีมุงคุณ (2555) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า
               ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว


          ทิศนา แขมมณี (2554:98-102) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า 
               ก.ทฤษฎีการเรียนรู้
                          คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้คือ สลาวิน ( Slavin ) เดวิด จอห์นสัน ( David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน ( Roger Johnson ) เขากล่าวว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้ง ๆ ที่มีผลการวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของผู้เรียนต่อตนเอง ต่อโรงเรียน ครูและเพื่อนร่วมชั้น มีผลต่อการเรียนมาก จอห์นสัน และจอห์นสัน ( Johnson and Johnson , 1994 : 31 – 32 ) กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี ลักษณะคือ
       1.ลักษณะแข่งขันกัน
       2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน
       3.ลักษณะร่วมมือกัน หรือ ช่วยกันในการเรียนรู้
  องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
       1.การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน ( positive interdependence )
       2.การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ( face-to-face promotive interaction )
       3.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน ( individual accountability )
       4.การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย ( interpersonal and small-group skills)
       5.การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม ( group processing )

  ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
       1.มีความพยายามจะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
       2.มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
       3.มีสุขภาพจิตดีขึ้น
  ประเภทของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
       1.กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ ( formal cooperative learning groups )
       2.กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ( informal cooperative learning groups )
       3.กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร( cooperative base groups )

   ข.การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
  1.ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน
 1.1 กำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนทั้งทางด้านความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ
 1.2 กำหนดขนาดของกลุ่ม กลุ่มควรมีขนาดเล็กประมาณ 3 – 6 คน กลุ่มขนาด คนจะเป็น
ขนาดที่เหมาะสมที่สุด
 1.3 กำหนดองค์ประกอบของกลุ่ม โดนทั่วไปกลุ่มจะต้องประกอบไปด้วยสมาชิกที่คละกัน
ในด้านต่าง ๆ เช่น เพศ ความสามารถ ความถนัด เป็นต้น
 1.4 กำหนดบทบาทของสมาชิกแต่ละตนในกลุ่ม
 1.5 จัดสถานที่ให้เหมาะสมในการทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์กัน
 1.6 จัดสาระ วัสดุ หรืองานที่จะให้ผู้เรียนทำ วิเคราะห์สาระ/งาน/หรือวัสดุที่จะให้ผู้เรียนได้
เรียนรู้
  2.ด้านการสอน
 ครูควรมีการเตรียมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้
      2.1 อธิบายชี้แจงเกี่ยวกับงานของกลุ่ม
      2.2 อธิบายเกณฑ์การประเมินผลงาน
      2.3 อธิบายถึงความสำคัญและวิธีการของการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
      2.4 อธิบายวิธีการช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม
      2.5 อธิบายถึงความสำคัญและวิธีการในการตรวจสอบความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย
      2.6 ชี้แจงพฤติกรรมที่คาดหวัง
  3.ด้านการควบคุมกำกับและช่วยเหลือกลุ่ม
 3.1 ดูแลให้สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
 3.2 สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม
 3.3 เข้าไปช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม
 3.4 สรุปการเรียนรู้
  4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
 4.1 ประเมินผลการเรียน ครูประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและ
คุณภาพ
 4.2 วิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้แบบร่วมมือทั้ง
รูปแบบดังกล่าวมีคุณสมบัติสำคัญตรงกัน ประการ คือ ทุกรูปแบบต่างก็มีกระบวนการเรียนรู้ที่พึ่งพาและเกื้อกูลกัน สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือและปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และสามารถตรวจสอบได้ สมาชิกกลุ่มต้องใช้ทักษะการทำงานกลุ่มและการสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งมีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานร่วมกัน

          รังสิมา วงษ์ตระกูล (2553ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือกันหรือการร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย จึงถือได้ว่าการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนักการศึกษาที่สำคัญในวงการศึกษาได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนี้

               จอห์นสัน และจอห์นสัน ได้ให้ความรู้ของการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า  การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่มผู้เรียนซึ่งต้องการการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน(ล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จร่วมกัน),ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน,การใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(การติดต่อสื่อสาร,ความเชื่อมั่น,ความเป็นผู้นำ,การตัดสินใจ,การลดความขัดแย้ง),การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด,และกระบวนการ(สิ่งที่สะท้อนกลับคือประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอย่างไรและดีขึ้นมากแค่ไหน(Johnson และ Johnson. Online.  2009)
                นอกจากของจอห์นสัน  ยังมีนักการศึกษาของไทยเราได้ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้อีกเช่น ของอาจารย์สุวิทย์ และอาจารย์อรทัย มูลคำได้ให้ความหมายไว้ว่า       การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง กระบวนการการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
                จากความหมายข้างต้นของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสามารถจะสรุปได้ว่า  การเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ตามความสามารถของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝึกความรับผิดชอบร่วมกัน และการใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จร่วมกันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

       สรุป
                 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) มีแนวคิด คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ จอห์นสัน และจอห์นสัน ( Johnson and Johnson , 1994 : 31 – 32 ) กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี ลักษณะคือ
       1.ลักษณะแข่งขันกัน
       2.ลักษณะต่างคนต่างเรียน
       3.ลักษณะร่วมมือกัน หรือ ช่วยกันในการเรียนรู้

ที่มา
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2561.
ทิศนา  แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รังสิมา วงษ์ตระกูล. (2553). https://www.gotoknow.org/posts/401180[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2561.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์           kamonwan  (2558) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ว่า                สื่อการสอน ...