วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ STAD

       ที่มาของ STAD
                    การจัดการเรียนรู้แบบ STAD หมายถึง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเป็นการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีชื่อเต็มว่า Student Teams Achievement Divisions เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน ซึ่งประกอบด้วย นักเรียนที่เรียนเก่ง 1 คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง 2-3 คน และนักเรียนที่เรียนอ่อน 1 คน 

                  การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ STAD เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ Robert Slavin และคณะจากมหาวิทยาลัย John Hopkins ได้ร่วมมือกันพัฒนาขึ้น เป็นการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบหนึ่งคล้ายกับเทคนิค TGT ที่แบ่งผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันออกเป็นกลุ่มเพื่อทำงานร่วมกัน กลุ่มละประมาณ 4-5 คน โดยกำหนดให้สมาชิกของกลุ่มได้เรียนรู้ในเนื้อหาสาระที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้แล้ว และให้ทำการทดสอบความรู้ที่ได้รับคะแนนที่ได้จากการทดสอบของสมาชิกแต่ละคนนำเอามาบวกเป็นคะแนนรวมของทีม ผู้สอนจะต้องใช้วิธีเสริมแรง

                 หลักการพื้นฐานของรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีม ของSlavin ประกอบด้วย
                            1) การให้รางวัลเป็นทีม (Team Rewards) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการวางเงื่อนไขให้นักเรียนพึ่งพากัน จัดว่าเป็น Positive Interdependence
                            2) การจัดสภาพการณ์ให้เกิดความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้ (Individual Accountability) ความสำเร็จของทีมหรือกลุ่ม อยู่ที่การเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคนในทีม
                            3) การจัดให้มีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะประสบความสำเร็จ (Equal Opportunities For Success) นักเรียนมีส่วนช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จด้วยการพยายามทำผลงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมในรูปของคะแนนปรับปรุง ดังนั้น แม้แต่คนที่เรียนอ่อนก็สามารถมีส่วนช่วยทีมได้ ด้วยการพยายามทำคะแนนให้ดีกว่าครั้งก่อนๆ นักเรียนทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อนต่างได้รับการส่งเสริมให้ตั้งใจเรียนให้ดีสุด ผลงานของทุกคนในทีมมีค่าภายใต้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนแบบนี้

                 สำหรับรูปแบบ STAD เป็นรูปแบบหนึ่งที่ Slavin ได้เสนอไว้ เมื่อปี ค.ศ. 1980 นั้นมี องค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ คือ
                            1.การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียน (Class Presentation) ครูเป็นผู้นำเสนอสิ่งที่นักเรียนต้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นมโนทัศน์ ทักษะและ/หรือกระบวนการ การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียนนี้อาจใช้การบรรยาย การสาธิตประกอบการบรรยาย การใช้วิดีทัศน์หรือแม้แต่การให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองตามหนังสือเรียน
                            2.การทำงานเป็นกลุ่ม (Teams) ครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักเรียนประมาณ 4-5 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีทั้งเพศหญิงและเพศชาย และมีหลายเชื้อชาติ ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนในกลุ่มได้ทราบถึงหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มว่านักเรียนต้องช่วยเหลือกัน เรียนร่วมกัน อภิปรายปัญหาร่วมกัน ตรวจสอบคำตอบของงานที่ได้รับมอบหมายและแก้ไขคำตอบร่วมกัน สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องทำงานให้ดีที่สุดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้กำลังใจและทำงานร่วมกันได้
                               หลังจากครูจัดกลุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานร่วมกันจากใบงานที่ครูเตรียมไว้ ครูอาจจัดเตรียมใบงานที่มีคำถามสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน เพื่อใช้เป็นบทเรียนของการเรียนแบบร่วมมือ ครูควรบอกนักเรียนว่า ใบงานนี้ออกแบบมาให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม เพื่อเตรียมตัวสำหรับการทดสอบย่อย สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะต้องช่วยกันตอบคำถาม เพื่อเตรียมตัวสำหรับการทดสอบย่อย สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะต้องช่วยกันตอบคำถามทุกคำถาม โดยแบ่งกันตอบคำถามเป็นคู่ๆ และเมื่อตอบคำถามเสร็จแล้วก็จะเอาคำตอบมาแลกเปลี่ยนกัน โดยสมาชิกแต่ละคนจะต้องมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันในการตอบคำถามแต่ละข้อให้ได้ ในการกระตุ้นให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
                                         2.1 ต้องแน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มสามารถตอบคำถามแต่ละข้อได้อย่างถูกต้อง
                                         2.2 ให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามทุกข้อให้ได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนนอกกลุ่ม หรือขอความช่วยเหลือจากครูให้น้อยลง
                                         2.3 ต้องให้แน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนสามารถอธิบายคำตอบแต่ละข้อได้ ถ้าคำถามแต่ละข้อเป็นแบบเลือกตอบ
                            3.การทดสอบย่อย (Quizzes) หลังจากที่นักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูก็ทำการทดสอบย่อยนักเรียน โดยนักเรียนต่างคนต่างทำ เพื่อเป็นการประเมินความรู้ที่ นักเรียนได้เรียนมา สิ่งนี้จะเป็นตัวกระตุ้นความรับผิดชอบของนักเรียน
                            4.คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน (Individual Improvement Score) คะแนนพัฒนาการของนักเรียนจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนทำงานหนักขึ้น ในการทดสอบแต่ละครั้งครูจะมีคะแนนพื้นฐาน (Base Score) ซึ่งเป็นคะแนนต่ำสุดของนักเรียนในการทดสอบย่อยแต่ละครั้ง ซึ่งคะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนได้จากความแตกต่างระหว่างคะแนนพื้นฐาน (คะแนนต่ำสุดในการทดสอบ) กับคะแนนที่นักเรียนสอบได้ในการทดสอบย่อยนั้นๆ ส่วนคะแนนของกลุ่ม (Team Score) ได้จากการรวมคะแนนพัฒนาการของนักเรียนทุกคนในกลุ่มเข้าด้วยกัน
                            5.การรับรองผลงานของกลุ่ม (Team Recognition) โดยการประกาศคะแนนของกลุ่มแต่ละกลุ่มให้ทราบ พร้อมกับให้คำชมเชย หรือให้ประกาศนียบัตรหรือให้รางวัลกับกลุ่มที่มีคะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด โปรดจำไว้ว่า คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนมีความสำคัญเท่าเทียมกับคะแนนที่นักเรียนแต่ละคนได้รับจากการทดสอบ 

       ขั้นตอนของ STAD
                 ขั้นที่ 1 ขั้นสอน ครูดำเนินการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการเกี่ยวกับบทเรียนนั้นๆ อาจเป็นกิจกรรมที่ครูบรรยาย สาธิต ใช้สื่อประกอบการสอน หรือให้นักเรียนทำกิจกรรมการทดลอง
                 ขั้นที่ 2 ขั้นทบทวนความรู้เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 4-5 คน ที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน สมาชิกในกลุ่มต้องมีความเข้าใจว่า สมาชิกทุกคนจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือกันและกันในการศึกษาเอกสารและทบทวนความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบย่อย
ครูเน้นให้นักเรียนทำดังนี้
                           ก. ต้องให้แน่ใจว่า สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อ
                           ข. เมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหา ให้นักเรียนช่วยเหลือกันภายในกลุ่มก่อนที่จะถามครูหรือถามเพื่อนกลุ่มอื่น
                           ค. ให้สมาชิกอธิบายเหตุผลของคำตอบของแต่ละคำถามให้ได้ โดยเฉพาะแบบฝึกหัดที่เป็นคำถามปรนัยแบบให้เลือกตอบ
                 ขั้นที่ 3 ขั้นทดสอบย่อย ครูจัดให้นักเรียนทำแบบทดสอบย่อย หลังจากนักเรียนเรียนและทบทวนเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด นักเรียนทำแบบทดสอบคนเดียวไม่มีการช่วยเหลือกัน
                 ขั้นที่ 4 ขั้นหาคะแนนพัฒนาการ คะแนนพัฒนาการเป็นคะแนนที่ได้จากการพิจารณาความแตกต่างระหว่างคะแนนที่ต่ำสุดการทดสอบครั้งก่อนๆ กับคะแนนที่ได้จากการทดสอบครั้งปัจจุบัน เมื่อได้คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนแล้ว จึงหาคะแนนพัฒนาการของกลุ่ม ซึ่งได้จากการนำคะแนนพัฒนาการของสมาชิกแต่ละคนมารวมกัน หรือหาค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการของสมาชิกทุกคน
                 ขั้นที่ 5 ขั้นให้รางวัลกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนปรับปรุงตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับคำชมเชยหรือติดประกาศที่บอร์ดในห้องเรียน
                           ตัวอย่างเกณฑ์การได้รับรางวัลมีดังนี้
                                     คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยของกลุ่ม ระดับรางวัล
                                          15 ดี
                                          20 ดีมาก
                                          25 ดีเยี่ยม 

       ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ STAD
                 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์     รายวิชาคณิตศาสตร์ ค 21101     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                                                                  หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เลขยกกำลัง                                             เวลา 13 ชั่วโมง
                                                                  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง        เวลา 1 ชั่วโมง
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐานการเรียนรู้
               มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
ตัวชี้วัด
               ม.1/2 เข้าใจเกี่ยวกับเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม และเขียนแสดงจำนวนให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (scientific notation)
สาระการเรียนรู้ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม
จุดประสงค์การเรียนรู้
               บอกความหมายของเลขยกกำลังได้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
               1. ซื่อสัตย์สุจริต
               2. มีวินัย
               3. ใฝ่เรียนรู้
               4. มุ่งมั่นในการทำงาน
               5. มีจิตสาธารณะ
สาระสำคัญ
               เลขยกกำลัง (Power) คือ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ใช้แทนจำนวนที่เกิดจากการคูณตัวเองซ้ำกันหลาย ๆ ตัว โดยมีบทนิยาม ดังนี้
               ถ้า a แทนจำนวนใด ๆ และ n แทนจำนวนเต็มบวก “a ยกกำลัง n” หรือ “a กำลัง n” เขียนแทนด้วย an มีความหมายดังนี้
                                              an  = a ´ a ´ a ´...´ a
                                                
                                                                n
             เรียก an ว่าเลขยกกำลังที่มี a เป็นฐาน และ n เป็นเลขชี้กำลัง 
               an อ่านว่า "เอยกกำลังเอ็น" หรือ "เอกำลังเอ็น" หรือ "กำลังเอ็นของเอ"
กิจกรรมการเรียนรู้
               ขั้นนำเสนอบทเรียนและสอนเนื้อหาใหม่ (Class Presentation)
                    1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ อธิบายถึงวิธีการ ขั้นตอนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
                    2. ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของจำนวนนับ โดยครูสุ่มนักเรียนอาสาสมัครออกมาหน้าชั้น จำนวน 8 คนแล้วสมมติให้ทุกคนมีค่าเท่ากับจำนวน 2 หน้าที่ของนักเรียนที่ถูกสุ่มออกมาคือต้องไปจับคู่หรือจับกลุ่มกับเพื่อนโดยใช้หลักการคูณให้ผลคูณที่ได้มีค่าเท่ากับที่ครูกำหนด นักเรียนคนใดไม่มีคู่หรือกลุ่มในการเล่นครั้งสุดท้ายจะได้เต้นเพลงไก่ย่าง เมื่อนักเรียนจับคู่หรือกลุ่มแสดงการคูณแต่ละข้อ ครูเขียนคำตอบไว้บนบนกระดาน แสดงให้เห็นถึงการแยกตัวประกอบของจำนวนนับ ดังนี้
                         1) 4 = 2 ´ 2 (ครบคู่พอดี)
                         2) 8 = 2 ´ 2 ´ 2 (นักเรียนเหลือ 2 คน)
                         3) 16 = 2 ´ 2 ´ 2 ´ 2 (ครบคู่พอดี)
                         4) 32 = 2 ´ 2 ´ 2 ´ 2 ´ 2 (นักเรียนเหลือ 3 คน)
                         5) 64 = 2 ´ 2 ´ 2 ´ 2 ´ 2 ´ 2 (นักเรียนเหลือ 2 คน ได้เต้นเพลงไก่ย่าง)
                    3. ครูชมเชยนักเรียนอาสาสมัครออกมาหน้าชั้นทุกคน และกล่าวถึงผลการการแยกตัวประกอบของจำนวนนับบนกระดาน พบจำนวนที่คูณซ้ำตัวเอง แล้วอธิบายสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับใช้แทนจำนวนที่เกิดจากการคูณตัวเองซ้ำกันหลายๆ ตัว คือ เลขยกกำลัง (Power) โดยมีบทนิยามของเลขยกกำลัง ดังนี้ (นักเรียนเปิดหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ของสสวท.หน้า 66 ประกอบ)
                         ถ้า a แทนจำนวนใด ๆ และ n แทนจำนวนเต็มบวก “a ยกกำลัง n” หรือ “a กำลัง n” เขียนแทนด้วย an มีความหมายดังนี้
                                              an  ´ ´ ´...´ a
                                                
                                                                n
                      เรียก an ว่าเลขยกกำลังที่มี a เป็นฐาน และ n เป็นเลขชี้กำลัง 
                          an อ่านว่า "เอยกกำลังเอ็น" หรือ "เอกำลังเอ็น" หรือ "กำลังเอ็นของเอ"
                    4. ครูเขียนเลขยกกำลังแทนการแยกตัวประกอบของ 64 ที่แสดงบนกระดาน และเขียนภาพแสดงเลขยกกำลังให้นักเรียนบอกความหมาย ฐาน เลขชี้กำลังและคำอ่านให้ถูกต้องพร้อมกัน
                                64 = 2 ´ 2 ´ 2 ´ 2 ´ 2 ´ 2 = 26
                         
               ขั้นเรียนกลุ่มย่อย การทำงานเป็นทีมหรือกลุ่ม (Teams)
                    1. ครูให้นักเรียนเข้ากลุ่มตามที่จัดไว้เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วยคนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2-3 คน และอ่อน 1 คน
                    2. นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง และหนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ของสสวท. หน้า 61 แล้วทำใบงานที่ 1-2 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง เมื่อสมาชิกในกลุ่มทำใบงานเสร็จให้ตรวจคำตอบจากเฉลยพร้อมกัน หากมีข้อผิดให้ปรึกษากันในกลุ่มก่อน ถ้าทำไม่ได้ให้ปรึกษาครูแล้วแก้ไขคำตอบให้ถูกต้องทบทวนจนแน่ใจว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถที่จะตอบคำถามและอธิบายคำตอบได้ทุกคำถามในใบงาน เป็นการเตรียมสมาชิกทุกคนให้พร้อมสามารถที่จะทำแบบทดสอบย่อยได้
                    3. ครูคอยสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนแต่ละกลุ่ม ขณะที่นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม พร้อมทั้งคอยอธิบายและให้คำแนะนำเพิ่มเติมส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจ
                    4. ครูและนักเรียนสรุปเรื่องความหมายของเลขยกกำลัง โดยครูทบทวนใช้คำถามถามตอบนักเรียนเกี่ยวกับความหมาย ฐาน เลขชี้กำลัง และคำอ่านของเลขยกกำลัง
               ขั้นทดสอบย่อย (Quizzes)
                    1. นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบย่อยฉบับที่ 1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง ซึ่งนักเรียนต้องทำแบบทดสอบย่อยเป็นรายบุคคลไม่ให้ช่วยเหลือกัน ภายในเวลาที่กำหนด
                    2. ครูนำแบบทดสอบย่อยไปตรวจให้คะแนน นักเรียนต้องผ่าน 70% ถ้าไม่ผ่านต้องกลับไปศึกษาแล้วทำใหม่อีกครั้ง แล้วบันทึกคะแนนจากแบบทดสอบย่อยของนักเรียนแต่ละคน
               ขั้นหาคะแนนพัฒนาการ (Individual Improvement Score)
                    ครูเก็บคะแนนการทดสอบย่อยฉบับที่ 1 ไว้ เป็นคะแนนฐานของการสอบในครั้งต่อไปเพื่อนำไปคิดคะแนนพัฒนาการหรือคะแนนความก้าวหน้าของแต่ละคน (พิจารณาจากความแตกต่างระหว่างคะแนนของการทดสอบย่อยฉบับที่ 2 กับคะแนนที่ได้จากการทดสอบย่อยฉบับที่ 1) เมื่อได้คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนแล้วจึงหาคะแนนพัฒนาการของกลุ่ม (นำคะแนนพัฒนาการของสมาชิกแต่ละคนมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการของสมาชิกทุกคน) นำไปเทียบกับคะแนนเกณฑ์ ซึ่งคิดเทียบกับเกณฑ์คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยของกลุ่ม (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)
                ขั้นรับรองผลงานของกลุ่ม (Team Recognition)
                     ครูติดประกาศคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยของกลุ่มให้แต่ละกลุ่มทราบ พร้อมกับแจ้งคะแนนฐานของนักเรียนแต่ละคนและคะแนนฐานของกลุ่ม ให้คำชมเชย ยกย่อง กลุ่มที่ได้คะแนนพัฒนาการสูงสุด
                     เกณฑ์คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยของกลุ่ม มีดังนี้
                          คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยของกลุ่ม ระดับ
                                       25 – 30 ยอดเยี่ยม
                                       20 – 24 เก่งมาก
                                       15 – 19 เก่ง
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
                1. หนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ของสสวท.
                2. ใบความรู้เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง
                3. ใบงานที่ 1-2 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง
                4. แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง
การประเมินผลการเรียนรู้
                1. วิธีวัดและประเมินผล
                     1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
                     1.2 ตรวจแบบทดสอบย่อยฉบับที่ 1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง
                2. เครื่องมือวัดและประเมินผล
                     2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
                     2.2 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง
                3. เกณฑ์การประเมินผล
                     3.1 การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป
                     3.2 การตรวจแบบทดสอบย่อยฉบับที่ 1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
ข้อเสนอแนะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
ลงชื่อ……………………………………………
(นางลักษมณ โพธิ์งาม)
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร)
ข้อเสนอแนะ ผู้อำนวยการสถานศึกษา
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
ลงชื่อ……………………………………………
(นายทองสุข สว่างงาม)
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร)
บันทึกหลังการสอน
                1. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………….……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………….……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………….……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
                 2. ปัญหา / อุปสรรค……………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………….……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………….……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
                  3. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข.................................................................................................
…………………………………………………………………………………………………….……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………….……………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
ลงชื่อ…………………………………ผู้สอน
(นางจิดาภา เอี่ยมนูญ)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

http://www.koratcity.go.th/news/100152/101574

ที่มา
อุตรดิตถ์ Thailand. (2553). https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=free4u&month=12-2010&date=21&group=60&gblog=59[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2561.
ประภัสรา โคตะขุน. (2559). https://sites.google.com/site/prapasara/khorngsrang-wicha[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กันยายน  2561.
เทศบาลนครนครราชศรีมา. (ม.ป.ป.). http://www.koratcity.go.th/news/100152/101574[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กันยายน  2561.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์           kamonwan  (2558) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ว่า                สื่อการสอน ...